วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

พายุโซนร้อนลูกที่ 11 “หินหนามหน่อ” (ห่านป่า) มีแนวโน้มเคลื่อนตัวทางตะวันตก ยังต้องติดตามเป็นระยะๆ

พายุโซนร้อนลูกที่ 11 “หินหนามหน่อ” (ห่านป่า) มีแนวโน้มเคลื่อนตัวทางตะวันตก ยังต้องติดตามเป็นระยะๆ

เช้านี้ (29 ส.ค.65) ฝนตกในหลายพื้นที่ สำนักการระบายน้ำ รายงานว่า เมื่อเวลา 07.30 น. กรุงเทพมหานคร ฝนเล็กน้อย- ปานกลาง กระจายในพื้นที่เขตสายไหม บางเขน ลาดพร้าว คลองสามวา คันนายาว บึงกุ่ม พระนครชั้นใน เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ปริมาณฝนสูงสุดเขตหนองจอก 13.0 มม.

เวลา 07.45 น. กรุงเทพมหานคร ฝนเล็กน้อย-ปานกลางเขตดอนเมือง สายไหม หลักสี่ บางเขน ลาดพร้าว บางซื่อ จตุจักร ต่อเนื่องแนวริมแม่น้ำทั้งสองฝั่ง เขตบางขุนเทียน คลองสามวา คันนายาว บึงกุ่ม พระนครชั้นใน เคลื่อนตัวทิศตะวันตก ปริมาณฝนสูงสุดเขตพระโขนง 19.5 มม.

เวลา 08.00 น. กรุงเทพมหานคร ฝนเล็กน้อย – ปานกลางเขตดอนเมือง หลักสี่ สายไหม บางเขน บางซื่อ จตุจักร ลาดพร้าว ดุสิต บางพลัด ตลิ่งชัน บางกอกน้อย ภาษีเจริญ บางกอกใหญ่ จอมทอง บางขุนเทียน ทุ่งครุ เคลื่อนตัวทิศตะวันตก ปริมาณฝนสูงสุดเขตบางนา 28.0 มม.

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานภาพถ่ายดาวเทียมและภาพเรดาร์ตรวจอากาศ เช้าวันนี้ แนวกลุ่มฝนฟ้าคะนองกำลังปานกลาง ถึงค่อนข้างแรง เคลื่อนตัวจากทางด้านตะวันออกไปทางตะวันตก

ส่วนภาพกราฟฟิก แสดงการพยากรณ์ฝนรวมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.)10 วันล่วงหน้า (29 ส.ค.- 7 ก.ย.65 ระหว่างเวลา 07.00น. – 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) จากแบบจำลองฯ ECMWF Init.2022082812 :

-29-2 ก.ย. 65 ยังมีฝนและมีตกหนักบางพื้นที่ ตามมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนที่พัดปกคลุมตามฤดูกาล ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดแทรกเข้าปกคลุมภาคอีสานตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อน

-ช่วงวันที่ 3 – 7 ก.ย. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ต้องระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากโดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย คลื่นลมมีกำลังแรงขึ้นด้วย

(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจ)

อัพเดทเส้นทางพายุบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า ขณะนี้มีพายุโซนร้อนลูกที่ 11 ชื่อ “หินหนามหน่อ (HINNAMNOR)” หมายถึง ห่านป่า ตั้งชื่อโดย สปป.ลาว พายุฯนี้ยังอยู่ห่างไกลจากประเทศไทย (ยังไม่มีผลกระทบกับไทยในขณะนี้) มีแนวโน้มเคลื่อนตัวทางตะวันตก ยังต้องติดตามเป็นระยะๆ

CR: กรมอุตุนิยมวิทยา,สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร

ให้คะแนนเนื้อหานี้
[Total: 1 Average: 5]